[vc_row][vc_column][vc_custom_heading text=”ประวัติโรงพยาบาลโคกสูง” font_container=”tag:h2|text_align:center” use_theme_fonts=”yes”][vc_column_text]โรงพยาบาลโคกสูง(Khok Sung Hospital:KSH) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ก่อตั้งขึ้นในปี 2554 (เป็นลูกข่ายของอำเภออรัญประเทศ) มีเนื้อที่ 35 ไร่
-เปิดบริการครั้งแรก 21 มีนาคม 2556(ผู้ป่วยนอกOPD/ER) มีทีมแพทย์หมุนเวียนจากโรงพยาบาลอรัญประเทศตรวจบริการคนไข้ มีอาคารผู้ป่วยนอก โรงซักพอก
-วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เปิดให้บริการผู้ป่วยนอกโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลโคกสูงโดยมีแพทย์หมุนเวียนจากโรงพยาบาลอรัญประเทศ
-วันที่ 1 ตุลาคม 2559 จัดตั้งทีมบริหารของโรงพยาบาลโคกสูง แยกตัวออกจากอรัญประเทศเปิดบริการผู้ป่วยนอก(OPD/ER) 24 ชั่วโมง มีแพทย์ประจำ 1 คน เภสัชกร 1 คน ทันตแพทย์ 1คน
-วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เปิดให้บริการผู้ป่วยใน 9 เตียง
-วันที่ 1 เมษายน 2562 เปิดอาคารผู้ป่วยใน 30 เตียง ให้บริการเตียงสามัญ 24 เตียง พิเศษ 5 เตียง แยกโรค 1 เตียง
รายนามผู้อำนวยการ
นายแพทย์สุกฤษฏิ์ เลิศสกุลธรรม ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ปี มิ.ย 2559 – ปัจจุบัน โทร 037-441-113 ต่อ 109
วิสัยทัศน์ (Vision)
“เป็นโรงพยาบาลคุณภาพ อันเป็นที่รักและศรัทธาของประชาชน บุคลากรมีความสุข”
เป็นโรงพยาบาลคุณภาพหมายถึง การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน มีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม และผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 10 ด้าน คือ ความเชื่อถือได้ การตอบสนองความต้องการ มีความสามารถ การเข้าถึงได้ ความสุภาพ การติดต่อสื่อสาร ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ความเข้าใจลูกค้า และสามารถรู้สึกได้ในบริการ
เป็นที่รักและศรัทธาของประชาชน โดยยึดหลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ ทางกาย วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่น และสังคม สามารถประเมินได้โดยการรับฟังเสียงสะท้อนหลังการรับบริการของประชาชน
บุคลากรมีความสุข ตัวชี้วัดความก้าวหน้าของมนุษย์ เรียกว่าความสุข 8 ประการซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนใหญ่ๆ ความสุขของคน ความสุขของครอบครัว ความสุขของสังคม
- ความสุขทางกาย (happy body)ความสุขจากการมีสุขภาพดี แข็งแรงทั้งกายและใจ
- น้ำใจงาม (happy heart) ความมีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกันในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ
- ทางสายกลาง (happy relax) ต้องรู้จักการผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการใช้ชีวิต ต้องนำทางสายกลางมาใช้ ต้องรู้จักปล่อยวาง
- พัฒนาสมอง (happy brain) ความสุขจากการได้เรียนรู้ พัฒนาสมองตัวเองจากแหล่งต่างๆ นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพและความก้าวหน้าในการทำงาน
- ศาสนาและศีลธรรม (happy soul) ความศรัทธาศาสนาและศีลธรรมในการดำเนินชีวิต ความสุขของคนทำงานเกิดได้จากธรรมะ จริยธรรม ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์ทุกคนที่องค์กรต้องสร้าง
- ปลอดหนี้ (happy money)มีเงินรู้จักเก็บรู้จักใช้ ไม่เป็นหนี้
- สร้างความสุขจากการมีครอบครัวที่ดี (happy family) ครอบครัวที่เข้มแข็งย่อมเป็นครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง
- ความสุขที่เกิดจากสังคม (happy society)สังคมดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อคนในชุมชน คนทำงาน ที่พักอาศัย
พันธกิจ (Mission)
- พัฒนาคุณภาพบริการและวิชาการตามมาตรฐาน (HA)
- พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการสนับสนุนบริการตามหลักธรรมาภิบาล
- พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการ ได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐาน
- พัฒนาระบบบุคลากรทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ
ค่านิยม (Core value)
- กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ มุ่งผลสัมฤทธิของงาน
ความท้าทายเชิงกลยุทธ์
- การจัดบริการให้ดีขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย และเข้าถึงบริการอย่างมีคุณภาพ ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด
- การสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
- การบริหารบุคลากรให้มีศักยภาพ เครื่องมือเพียงพอพร้อมใช้ มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการ อย่างมีประสิทธิภาพ
- การเสริมพลังให้หน่วยบริการปฐมภูมิและชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อให้บริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจได้อย่างมีคุณภาพ
การสร้างความเข้มแข็งให้หน่วยบริการในเครือข่าย และการสร้างระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงทุกระดับอย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการที่ดี
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)
- จัดบริการให้ดีขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่ดีมีคุณภาพ “Better Service”
- พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น “Better Management”
- จัดการทรัพยากรขั้นพื้นฐานขององค์กรให้เข้มแข็ง“Back to Basic”
- สร้างความเข้มแข็งให้หน่วยบริการปฐมภูมิมุ่งให้บริการแบบใกล้บ้านใกล้ใจ
- “Empowerment of Primary Care”
- พัฒนาระบบส่งต่อและสร้างความเข้มแข็งให้หน่วยบริการเครือข่าย CUP โคกสูง
- “Referral System &Network Strengthening”
อำเภอโคกสูงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอตาพระยา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาแต่งตั้งเป็นกิ่งอำเภอโคกสูงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายน 2539 ต่อมามีประราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอโคกสูง โดยมีผลบังคับใช้ตั่งแต่วันที่ 8 กันยายน 2550 อำเภอโคกสูงแบ่งย่อยออกเป็น 4 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่ โคกสูง หนองม่วง หนองแวง โนนหมากมุ่น มีประชากรทั้งหมด 27,181 คน
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_empty_space][/vc_column][/vc_row]